“ประภัสร์”ยกเครื่องรถไฟ ลุยปรับโครงสร้าง-ล้างหนี้

 

 

003 UnderCover

 

 

“ประภัสร์”ยกเครื่องรถไฟ ลุยปรับโครงสร้าง-ล้างหนี้
คอลัมน์ รายงานพิเศษ

ปัญหา ประสิทธิภาพการให้บริการและภาระหนี้มหาศาลกว่า 1.1 แสนล้านบาท ของการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) ทำให้นายประภัสร์ จงสงวน ผู้ว่าการ รฟท. ต้องเร่งเดินหน้าปรับโครงสร้างองค์กร ทั้งการบริหารงานเพื่อให้เกิดความคล่องตัวครั้งใหญ่

พร้อมทั้งเดิน หน้าขยายการลงทุนเพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพการให้บริการ แม้ว่าแหล่งเงินทุนก้อนใหญ่จะหายวับไปกับตา เพราะพ.ร.บ.กู้เงิน 2 ล้านล้านบาทของรัฐบาลภายใต้การนำของน.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ไม่สามารถผ่านออกมาเป็นกฎหมายบังคับใช้ได้

เร่งปรับโครงสร้างองค์กร

ภารกิจ แรกที่ถือว่าสำคัญที่ต้องเร่งสะสางคือการปรับโครงสร้างองค์กรทั้งระบบ เบื้องต้นการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) ได้ว่าจ้างมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ศึกษารายละเอียดรูปแบบการปรับโครงสร้าง องค์กร คาดว่าจะเสนอให้คณะกรรมการ รฟท. และคณะรัฐมนตรี (ครม.) ชุดใหม่ พิจารณาได้ในเร็วๆ นี้

แนวคิดเบื้องต้นคือการปรับเปลี่ยนรูปแบบการ บริหารงานให้มีความคล่องตัวเหมือนกับหน่วยงานเอกชน เริ่มจากเตรียมปรับลดตำแหน่งรองผู้ว่าฯ รฟท. ให้เหลือ เพียง 4 คน จากปัจจุบัน 7 คน แบ่งการทำงานตามภาคเหนือ อีสาน ภาคใต้ และกลางจะรวมกับตะวันออก โดยส่วนกลางจะเป็นผู้กำหนดนโยบาย แต่จะกระจายอำนาจให้ทั้ง 4 ภาค ทำหน้าที่เป็นหน่วยธุรกิจ มีฝ่ายต่างๆ เช่นเดียวกับส่วนกลาง เช่น หน่วยเดินรถ บริหารทรัพย์สิน โยธาและก่อสร้าง อาณาบาล นโยบายและแผน และประชา สัมพันธ์ เป็นต้น

ขณะที่ผู้บริหาร แต่ละภาคสามารถเสนอขอจัดสรรงบประมาณเข้ามายังส่วนกลางได้ แต่จะต้องมีการแยกบัญชีรายได้และรายรับออกจากส่วนกลางทั้งหมด เพื่อให้แต่ละภาคทำงานแข่งกันเอง โดยจะมีตัวชี้วัดผลงานเป็นเคพีไอ ภาคไหนบริหารดีมีกำไรจะได้รับโบนัสเพื่อเป็นขวัญและกำลังใจในการทำงาน รวมทั้งยังมีแผนที่จะเปิดรับพนักงานใหม่อีก 1 หมื่นคน เพื่อนำมาเสริมกำลังคนปัจจุบันที่มีเหลืออยู่เพียง 1 หมื่นคนเท่านั้น

ล้างหนี้กว่า 1 แสนล้าน

ภารกิจ ถัดมาคือการเร่งแก้ปัญหาหนี้สินที่มีอยู่ราวๆ 1.1 แสนล้านบาท ด้วยการ เตรียมยกที่ดินย่านทำเลทอง 2 แปลง คือบริเวณมักกะสันจำนวน 500 ไร่ และสถานีแม่น้ำ 270 ไร่ ให้กระทรวงการคลังนำไปพัฒนาระยะยาว 99 ปี เพื่อแลกกับภาระหนี้กว่า 1 แสนล้านบาท ซึ่งขณะนี้กรมธนารักษ์อยู่ระหว่างประเมินมูลค่าทรัพย์สิน ซึ่งหาก รฟท.ปลอดหนี้ก็จะสามารถกู้เงินมาลงทุนพัฒนาโครงการใหม่ๆ ได้

ปัจจุบัน รฟท.มีที่ดินทั่วประเทศ 234,976 ไร่ มูลค่ารวม 3,000 ล้านบาท แบ่งเป็นที่ดินเพื่อการเดินรถ 198,614 ไร่ และที่ดินเพื่อการพาณิชย์ 36,302 ไร่ โดยมีรายได้จากการบริหารทรัพย์สินเฉลี่ยปีละ 1,600-2,000 ล้านบาท

สำหรับ ที่ดินเชิงพาณิชย์ 36,302 ไร่ อยู่ในพื้นที่กรุงเทพฯ สามารถนำไปจัดหาประโยชน์ในเชิงพาณิชย์ได้ประมาณ 3,000 ไร่ ที่มีศักยภาพสูง เช่น ที่ดินบริเวณมักกะสัน ที่ดินบริเวณสถานีแม่น้ำ ที่ดินย่านพหลโยธิน 1,000 ไร่ และที่ดินซึ่งเช่าระยะยาวโดยกลุ่มเซ็นทรัล บริเวณสามเหลี่ยมพหลโยธิน 47 ไร่

 

 

รฟท.ขอปรับรถไฟฟ้าสีแดงรองรับไฮสปีดเทรน คมนาคมระดมโครงการชง”ประจิน”

14011691601401169224l

 

 

                                         รฟท.ขอปรับรถไฟฟ้าสีแดงรองรับไฮสปีดเทรน คมนาคมระดมโครงการชง”ประจิน”

นางสร้อยทิพย์ ไตรสุทธิ์ รองปลัดกระทรวงคมนาคม (คค.) เปิดเผยว่า กระทรวงคมนาคมกำลังรวบรวมโครงการเร่งด่วนของหน่วยงานในสังกัด เพื่อเสนอพล.อ.อ.ประจิน จั่นตอง ผบ.ทอ. ในฐานะหัวหน้าฝ่ายเศรษฐกิจ คณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ที่จะมาเป็นประธานประชุมด้วยตัวเอง ในวันที่ 28 พ.ค.นี้ ที่กระทรวงคมนาคม โดยการหารือเพื่อเป็นการรับทราบนโยบาย รวมถึงผลักดันโครงการสำคัญให้เดินหน้าต่อได้

นายประภัสร์ จงสงวน ผู้ว่าการการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) กล่าวว่า โครงการเร่งด่วนของ รฟท.ที่เสนอกระทรวงคมนาคม คือ โครงการก่อสร้างรถไฟฟ้าสายสีแดง ช่วงบางซื่อ-รังสิต โดยจะขอให้พิจารณา 2 สัญญาว่าควรปรับแบบก่อสร้างสถานีกลางบางซื่อเพื่อรองรับรถไฟความเร็วสูงใน อนาคตหรือไม่ รวมถึงจะขยายรางเพิ่มจาก 3 ราง เป็น 4 ราง เพื่อแบ่งการเดินรถของรถไฟฟ้าความเร็วสูง (ไฮสปีดเทรน) รถไฟชานเมือง และรถไฟฟ้าหรือเปล่า หากเห็นชอบจะของบประมาณสำหรับก่อสร้างวางรากฐานเพิ่ม 4,000 ล้านบาท

“รถไฟฟ้าสายสีแดงเป็นเรื่องเร่งด่วนสุด เพราะมีสถานีและเส้นทางรางเชื่อมโยงกับรถไฟฟ้าความเร็วสูง จึงต้องขอนโยบายว่าควรปรับสถานี และรางเพื่อรองรับอนาคตหรือไม่ หากไม่มีนโยบายชัดเจนการสร้างรถไฟฟ้าสายสีแดงจะล่าช้าไปกว่าเดิมด้วย และจะเสร็จไม่ทันปี 2560” นายประภัสร์กล่าว

ด้านนายชัชวาลย์ บุญเจริญกิจ อธิบดีกรมทางหลวง (ทล.) กล่าวว่า โครงการเร่งด่วนที่กรมทางหลวงเสนอให้พิจารณา คือ การออก พ.ร.ฎ.เวนคืนที่ดิน เพื่อก่อสร้างถนนใหม่ และทางเลี่ยงเมืองในบางเส้นทาง เช่น การก่อสร้างทางเลี่ยงเมืองสุรินทร์ และทางเลี่ยงเมืองแว้ง ส่วนโครงการก่อสร้างทางพิเศษระหว่างเมือง (มอเตอร์เวย์) การขยายถนนเป็น 4 เลนทั่วประเทศ ที่อยู่ในพ.ร.บ.กู้เงิน 2 ล้านล้านบาท จะนำเสนอในงบประมาณปี 2558

นายอภินันท์ วรรณางกูร รักษาการกรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บริษัท วิทยุการบินแห่งประเทศไทย จำกัด (บวท.) กล่าวว่า บวท.มีโครงการเร่งด่วน คือ การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานระบบบริการการเดินอากาศปี 2555-58 วงเงิน 4,460 ล้านบาท ขณะนี้ได้เริ่มดำเนินโครงการไปแล้ว คาดว่าจะแล้วเสร็จภายในปี 2558

รายงาน ข่าวจากการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) เปิดเผยว่า โครงการเร่งด่วน เช่น การสร้างรถไฟฟ้าสายสีชมพู ช่วงแคราย-มีนบุรี ระยะทาง 34.5 กิโลเมตร (ก.ม.) และรถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงศูนย์วัฒนธรรม-บางกะปิ-มีนบุรี ระยะทาง 21.8 ก.ม.

BTS-MRT-แอร์พอร์ตลิ้งก์-ห้างฯ ปรับเวลาบริการ หลังลดเวลาเคอร์ฟิว

                                   BTS-MRT-แอร์พอร์ตลิ้งก์-ห้างฯ ปรับเวลาบริการ หลังลดเวลาเคอร์ฟิว

วันที่ 28 พ.ค. รถไฟฟ้าทั้ง 3 ระบบ BTS MRT. และแอร์พอร์ตลิ้งค์ วันนี้เปิดให้บริการเวลา 06.00-23.00 น. หลัง คสช.ปรับลดเวลาเคอร์ฟิวเป็นหลัง 24.00 -04.00น.

ส่วนรถเมล์ ขสมก. สายยาวเริ่มเดินรถจากอู่หลัง 03.00 รถคันสุดท้ายเข้าอู่ 24.00 น. โดยช่วงนี้ไม่มีรถกะสว่าง(วิ่งทั้งคืน) จนกว่าจะมีการเปลี่ยนแปลง

ขณะที่ร้านค้า ผู้ประกอบการ ห้างร้านต่างๆ ก็มีการประกาศปรับเวลาบริการ ภายหลังปรับเวลาเคอร์ฟิวเช่นกัน

ห้างฯเซ็นทรัลสาขาในกรุงเทพฯ เซน และเซ็นทรัลเอ็มบาสซี แจ้งว่า ปิดเวลา 21.00 น. ตั้งแต่ 28 พ.ค. 57 เป็นต้นไปจนกว่าจะแจ้งเปลี่ยนแปลง

 

14012528101401256730l

5 อภิมหาม้าเหล็ก ทุบสถิติ วิ่งเร็วที่สุดในโลก

5 อภิมหาม้าเหล็ก ทุบสถิติ วิ่งเร็วที่สุดในโลก

 800px-CRH3

Alta Velocidad Espanola

5 อภิมหา”ม้าเหล็ก” ทุบสถิติวิ่งเร็วที่สุดในโลก (ข่าวสด)

  กิจการ “รถไฟเมืองไทย” ผ่านกาลเวลามายาวนาน 120 กว่าปี ยังไม่ค่อยพัฒนาไปไกลจากคำค่อนขอด “ถึงก็ชั่ง-ไม่ถึงก็ชั่ง” แถมบางครั้งมีหมัดหนูโดยสารไปเป็นเพื่อนอีกต่างหาก ครั้นจะนั่งรถไฟฟ้ารางก็แสนสั้นวิ่งเอื่อยๆ วนไปวนมาแต่ในตัวเมือง

วันนี้ถือโอกาสที่นิตยสารเทคโนโลยีเครื่องยนต์กลไกเล่มดังของสหรัฐอเมริกา “ป๊อปปูลาร์ เมคานิกส์” ฉบับใหม่ตีพิมพ์บทความ “สุดยอด 5 รถไฟความเร็วสูงสุดในโลก” นำเรื่องราวมาถ่ายทอดต่อให้แสบกระดองใจเล่นๆ ว่า “รถไฟต่างแดน” เขาพัฒนาไปไกลถึงไหนต่อไหนกันบ้างแล้ว!

1. Shanghai Maglev : เซี่ยงไฮ้แม็กเลฟ

800px-JRW-500-nozomi


Shanghai Maglev

สถานที่ : นครเซี่ยงไฮ้ ประเทศจีน วิ่งรับ-ส่งผู้โดยสารระหว่างสถานีหลงหยาง เขตพู่ตง กับท่าอากาศยานนานาชาติพู่ตง ในอนาคตมีแผนขยายเส้นทางไปยังท่าอากาศยานหงเฉียว เชื่อมต่อไปเมืองหังโจว

ระยะทาง : 19 ไมล์ (30 กิโลเมตร)

ความเร็วขณะวิ่งให้บริการ : 268 ไมล์ ต่อชั่วโมง หรือราว 431 กิโลเมตรต่อชั่วโมง

 ความเร็วสูงสุด : 311 ไมล์ต่อชั่วโมง หรือ 500 กิโลเมตรต่อชั่วโมง

 คุณสมบัติเด่น : “เซี่ยงไฮ้แม็กเลฟ” สร้างสถิติเป็น “รถไฟฟ้าแม่เหล็กความเร็วสูง” (แม็กเลฟ) ขบวนแรกของโลกที่วิ่งให้บริการเชิงพาณิชย์ด้วยความเร็วสูงสุด

 ระบบการทำงานแตกต่างจากรถไฟรางทั่วโลก เพราะตัวรถทั้งขบวนจะถูกกลไกสนามแม่เหล็กยกให้ลอยสูงจากราง ประมาณ 1-10 มิลลิเมตรแล้วแต่จังหวะการวิ่ง จึงไม่มีล้อ ไม่มีเบรก ไม่มีเพลา ไม่มีระบบส่งกำลัง ผู้พัฒนาเรียกระบบนี้ว่า “ไกด์เวย์”

อย่างไรก็ตาม วิศวกรบางกลุ่มมองว่า ราคาการลงทุนวางโครงข่ายรถไฟแม็กเลฟสิ้นเปลืองค่าใช้จ่ายมากเกินไป และยังไม่แน่ชัดว่าถ้าวิ่งระยะยาวแล้วจะมีปัญหาใดๆ เกิดขึ้นหรือไม่

2. Alta Velocidad Espanola (AVE) : รถไฟความเร็วสูงเอวีอี

 

AVE_in_spainAlta Velocidad Espanola (AVE)

  สถานที่ : ประเทศสเปน วิ่งเชื่อมต่อเมืองใหญ่ 4 เมือง ประกอบด้วย มาดริด, เซบีญา, มาลาก้า และบาร์เซโลนา

ระยะทาง : 410 ไมล์ (660 กิโลเมตร)

ความเร็วขณะวิ่งให้บริการ : 210 ไมล์ต่อชั่วโมง หรือราว 338 กิโลเมตรต่อชั่วโมง

ความเร็วสูงสุด : 227 ไมล์ต่อชั่วโมง หรือ 365 กิโลเมตรต่อชั่วโมง

คุณสมบัติเด่น : ในอดีตรางรถไฟสเปนจะมีขนาดความกว้าง 1,668 มิลลิเมตร แต่รถเอวีอี ใช้รางมาตรฐาน 1,435 มิลลิเมตร ซึ่งใช้โดยทั่วไปในทวีปยุโรป

 นอกจากนั้น กลไกการทำงานหล่อเลี้ยงด้วยกระแสไฟฟ้า 25 กิโลวัตต์ (AC) เพื่อให้เข้ากับรถไฟของประเทศอื่นๆ ในยุโรปเช่นกัน แสดงถึงเป้าหมายที่ชัดเจนของสเปนที่ต้องการขยายเส้นทางเอวีอีไปยังประเทศเพื่อนบ้าน เช่น เมืองแปร์ปินญอง ประเทศฝรั่งเศส

วัตถุประสงค์เพื่อให้การเดินทางระหว่าง 4 เมืองใหญ่คล่องตัว และส่งผู้โดยสารกระจายต่อไปทั่วประเทศด้วยรถด่วนตามปกติอีกทอดหนึ่ง

3. Beijing-Tianjin Intercity Railway : รถไฟความเร็วสูงสายปักกิ่ง-เทียนสิน

 

800px-TGV-Duplex_ParisBeijing-Tianjin Intercity Railway

   สถานที่ : ประเทศจีน วิ่งระหว่างกรุงปักกิ่ง กับเมืองเทียนสิน

  ระยะทาง : 71 ไมล์ (114 กิโลเมตร)

ความเร็วขณะวิ่งให้บริการ : 217 ไมล์ต่อชั่วโมง หรือราว 350 กิโลเมตรต่อชั่วโมง

   ความเร็วสูงสุด : 245 ไมล์ต่อชั่วโมง หรือ 394 กิโลเมตรต่อชั่วโมง

        คุณสมบัติเด่น : เริ่มเปิดบริการเมื่อปี พ.ศ.2551 นี่เอง ตัวรางไม่มีบัลลาสต์ ส่วนโครงสร้างฐานรางรถไฟรองรับด้วยพื้นคอนกรีต ทำให้รางแข็งแรงมั่นคงยิ่งขึ้น ไม่ต้องคอยเสียเวลาซ่อมแซมบูรณะมากนัก

ในอดีตการโดยสารรถไฟจากปักกิ่งไปเทียนสิน ใช้เวลา 70 นาที แต่ด้วยรถไฟสายใหม่นี้ช่วยร่นเวลาลงมาเหลือ 30 นาที ภายหลังเปิดบริการปีแรก สามารถขนส่งผู้โดยสารได้กว่า 18.7 ล้านคน

4. Train a Grande Vitesse (TGV) : รถไฟความเร็วสูงเตเจเว (ทีจีวี)

 

Shanghai_Transrapid_002Train a Grande Vitesse

       สถานที่ : ประเทศฝรั่งเศส ชุมทางตั้งต้นเริ่มจากกรุงปารีสแล่นออกสู่สถานีใน 200 กว่าเมืองทั่วประเทศ เช่น นีซ ลียง อาวินยง และดิฌอง

         ระยะทาง : 538 ไมล์ (865 กิโลเมตร)

  ความเร็วขณะวิ่งให้บริการ : 217 ไมล์ต่อชั่วโมง หรือราว 350 กิโลเมตรต่อชั่วโมง

ความเร็วสูงสุด : 356 ไมล์ต่อชั่วโมง หรือ 572 กิโลเมตรต่อชั่วโมง

 คุณสมบัติเด่น : เริ่มเปิดวิ่งเป็นครั้งแรกระหว่างกรุงปารีส นครหลวงฝรั่งเศส กับเมืองลียง ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2524 ต่อมาจึงขยายเส้นทางอย่างรวดเร็ว สร้างตำนานเป็นรถไฟความเร็วสูงที่ชาวโลกได้ยินชื่อคุ้นหูมากที่สุด และยังวิ่งข้ามไปยังชาติเพื่อนบ้าน เช่น วิ่งลอดอุโมงค์ใต้ทะเลไปอังกฤษ

   ระบบไฟฟ้าสลับสับเปลี่ยนได้ 2 รูปแบบ ทั้งกระแสไฟมาตรฐานในยุโรป 25 กิโลวัตต์ (AC) และระบบไฟ 1.5 กิโลวัตต์ (DC) ของฝรั่งเศส ปัจจุบันครองตำแหน่งแชมป์รถไฟที่วิ่งรับส่งผู้โดยสารตามตารางเวลาเร็วที่สุดในโลก 280 กิโลเมตรต่อชั่วโมง

5. Nozomi Shinkansen : รถไฟความเร็วสูง “โนโซมิ ชินคันเซ็น”

 

800px-CRH3Nozomi Shinkansen

  สถานที่ : ประเทศญี่ปุ่น ให้บริการเส้นทางสายโทไกโด/ซันโย ชินคันเซ็น จากโตเกียวไปฮากาตะ

ระยะทาง : 664 ไมล์ (1,068 กิโลเมตร)

          ความเร็วขณะวิ่งให้บริการ : 186 ไมล์ต่อชั่วโมง หรือราว 299-300 กิโลเมตรต่อชั่วโมง

ความเร็วสูงสุด : 275 ไมล์ต่อชั่วโมง หรือ 442 กิโลเมตรต่อชั่วโมง

คุณสมบัติเด่น : “โนโซมิ” เป็นชื่อรุ่นรถไฟในเครือข่ายรถไฟความเร็วสูง (ชินคันเซ็น) ของญี่ปุ่น ซึ่งทำความเร็วสูงที่สุดในกลุ่ม

   ความเร็วของ “โนโซมิ” แต่ละรุ่น หรือแต่ละซีรีส์ไม่เท่ากัน โดยบางรุ่นวิ่งได้ถึง 442 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ปัจจุบันการโดยสารโนโซมิจากกรุงโตเกียว ไปยังนครโอซากา ระยะทาง 515 กิโลเมตร ใช้เวลาเพียง 2 ชั่วโมงเศษ

จุดเด่นรถไฟไฮเทครุ่นนี้ คือ ออกแบบให้มีน้ำหนักเบา ติดตั้งกระจกโพลีคาร์บอเนตซึ่งแตกยาก-ทนทานต่อแรงกระแทกสูง และมีระบบ “แอร์สปริง” ใช้แรงอัดอากาศช่วยประคองสมดุลขบวนรถเวลาเข้าโค้ง

จีนเล็งสร้างระบบรถไฟความเร็วสูงยาวที่สุดในโลก สู่อเมริกา

จีนเล็งสร้างระบบรถไฟความเร็วสูงยาวที่สุดในโลก สู่อเมริกา

เรียบเรียงข้อมูลโดยกระปุกดอทคอม
ขอขอบคุณภาพประกอบจาก inhabitat.com

chinatrain-lead-01

จีนเล็งสร้างระบบรถไฟความเร็วสูงสู่อเมริกา ระยะทาง 12,800 กิโลเมตร ยาวที่สุดในโลก

เมื่อวันที่ 9 พฤษภาคม 2557 เว็บไซต์เดลี่เมลของอังกฤษ รายงานว่า จีนกำลังพิจารณาสร้างระบบรถไฟความเร็วสูงสู่สหรัฐอเมริกา ระยะทางรวม 12,800 กิโลเมตร ซึ่งจะทำให้สามารถเดินทางจากจีนถึงสหรัฐอเมริกาได้ในเวลาไม่ถึง 2 วัน

รายงานระบุว่า รถไฟความเร็วสูงนี้จะเดินทางด้วยความเร็วเกือบ 350 กิโลเมตรต่อชั่วโมง มุ่งหน้าจากจุดเริ่มต้นทางตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศ ผ่านไซบีเรียไปเข้าสู่อุโมงค์ใต้เบอร์ริ่ง สเตท ซึ่งเป็นอุโมงค์ที่สั้นที่สุดในการเดินทางจากรัสเซียไปยังอลาสกา และเมื่อลอดอุโมงค์ไปแล้ว ก็จะมุ่งหน้าไปทางใต้ ผ่านประเทศแคนาดา ก่อนที่จะถึงจุดมุ่งหมายที่สหรัฐอเมริกา

อย่างไรก็ดี ไม่มีรายงานแน่ชัดว่า ทางการสหรัฐฯ, จีน และแคนาดา ได้บรรลุข้อตกลงร่วมกันหรือไม่ แต่หากโครงการนี้ได้รับไฟเขียวและสร้างแล้วเสร็จ ระบบรถไฟความเร็วสูงสายนี้ที่มีระยะทางรวม 12,800 กิโลเมตร จะเป็นสายรถไฟที่ยาวที่สุดในโลก แทนที่รางรถไฟทรานส์-ไซบีเรีย ซึ่งเป็นเจ้าของสถิติปัจจุบัน

chinatrain-lead-02